Photo Gallery กระทิง
     
   
ดอก
 
ผลดิบ
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :Calophyllum inophyllum  L.
    ชื่อวงศ์ :GUTTIFERAE
    ชื่อสามัญ: Alexandria laurel , Borneo Mahogany
   

ชื่อไทย : กระทิง

    ชื่ออื่น :ทิง  กากะทิง  กระทึง  กากระทึง  สารภีทะเล  เนาวกาน
   

นิเวศวิทยา  
           ถิ่นกำเนิด  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปทุกพื้นที่โดยเฉพาะตามป่าชายหาด ริมทะเล และป่าชื้นทั่วไป

   
   
การขยายพันธุ์       เมล็ด
 
ลักษณะทั่วไป      เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 10 - 20 เมตร
ไม่ผลัดใบ  เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมหรือ รูปไข่  ทรงพุ่มแน่นทึบ  แตกกิ่งในระยะต่ำ    ลำต้น มักจะบิดงอไม่ตั้งตรง  โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย
   
เปลือก  สีเทาเข้มเกือบดำ  ค่อนข้าง เรียบ แตกเป็นสะเก็ดหรือร่องเล็ก ๆ
ทั่วไป  มียางสีเหลืองอมเขียว  ซึมออก มาจากร่องของเปลือกที่แตก
   
ใบ         ใบเดี่ยว  ออกเรียงตรงกันข้าม  รูปรีแกมรูปไข่กลับ  กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร  ยาว 8 - 16 เซนติเมตร  ปลายใบกว้างกลมเว้าเข้าเล็กน้อย  แล้วค่อยสอบเรียวจากกลางใบไปสู่โคนใบและก้านใบ  ขอบใบเรียบ  แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันเกลี้ยงและหนา    เส้นแขนงใบถี่และขนานกัน  ก้านใบยาว 0.5 - 1.5 เซนติเมตร  (ใบกระทิง คล้ายใบสารภี แต่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นมัน  เส้นแขนงใบชัดเจนกว่า) 
   

ดอก      สีขาว  กลิ่นหอม  ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง  ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่ง  ช่อหนึ่งมี 6 - 10 ดอก  ก้านดอกสีขาวยาว 2.0 - 2.5 เซนติเมตร  กลีบเลี้ยงสีขาว 4 กลีบ  กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ  รูปไข่ปลายแหลม  กว้าง 0.5 - 0.8 เซนติเมตร  ยาว 1.0 - 1.5 เซนติเมตร  ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร  มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมากอยู่กลางดอก ออกดอกตลอดปี

   

ผล      ผลสดแบบมีเนื้อ  ฉ่ำน้ำ  รูปทรงกลม  ปลายมีติ่งแหลม กว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร  ก้านผลยาว 3 - 4  เซนติเมตร  ผลอ่อนสีเขียว  เมื่อแก่สีน้ำตาล  ผลแห้งผิวจะย่น  ในหนึ่งผลมี 1 เมล็ด

   
เมล็ด      กลมเปลือกแข็งสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง  กว้าง 1.8 – 2.0 เซนติเมตร
   
   

ประโยชน์      
-
เนื้อไม้แข็งใช้ในการก่อสร้าง  ทำกระดูกงูเรือ 
- ใบสดขยำแช่น้ำ ไว้ล้าง ตา แก้ ตาฝ้ามัว  ตาแดง 
- ดอกปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ 
- เมล็ดให้น้ำมัน  ทาแก้ปวดข้อ  ทำเครื่องสำอาง  หรือเป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมัน            กระทิงเป็นไม้ต้นที่มีอายุยืนนาน  เป็นไม้มงคลโบราณ  นิยมปลูกไว้ตามวัด หรือบ้านทรงไทย  ซึ่งนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้าน  ถือเป็นไม้ให้ คุณทางโชคลาภ  นอกจากนั้นยังมีทรงพุ่มและลักษณะลำต้นสวยงามเฉพาะตัว  เหมาะที่จะปลูกไว้ภายในบริเวณบ้านที่มีพื้นที่กว้างขวาง  หรือตามสวนสาธารณะ


       

 
บริเวณที่ปลูก      สนามระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3
 

กระทิงเป็นไม้ต้นประจำจังหวัดระยอง

 

 
 

เรียบเรียงและถ่ายภาพ โดย รศ.ชนะ วันหนุน